บทความสุขภาพ

รู้ทันอาการออฟฟิศซินโดรม 3 ระยะที่คุณต้องพึงสังเกต

8 ชั่วโมงในการทำงานสำหรับร่างกายคือช่วงเวลาที่ยาวนาน อวัยวะทั้งหลายถูกกดทับขณะนั่งและใช้งานเป็นประจำ ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บได้ง่าย หลายคนอาจต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยด้วยอาการ ‘ออฟฟิศซินโดรม’ ต่างๆ ดังนั้นกันไว้ดีกว่าแก้ มารู้อาการ ‘ออฟฟิศซินโดรม’ 3 ระยะกันว่า จะส่งสัญญาณกลับมาที่ร่างกายอย่างไรบ้าง เพื่อให้คุณรับมือกับอาการได้อย่างทันท่วงที มาเริ่มสังเกตตัวเองกันเลย

ระยะที่ 1 ปวดเป็นๆ หายๆ
จุดเริ่มต้นของออฟฟิศซินโดรม มักเกิดขึ้นจากอาการเมื่อยล้าในช่วงเวลาทำงาน บางทีอาจมีอาการปวดตามอวัยวะต่างๆ ร่วมด้วย ซึ่งอาการปวดจะหายไปหลังจากพักร่างกายเป็นระยะเวลาหนึ่ง หรืออาจหายไปเลยอีกทีในช่วงเวลาดึกที่นอนพักผ่อนอยู่ อาการปวดเมื่อยอาจกินเวลาเป็นสัปดาห์หรือนานเป็นเดือน มาๆ ไปๆ เป็นๆ หายๆ อยู่อย่างนี้ โดยความเรื้อรังดังกล่าวอาจพัฒนาไปสู่ระยะที่ 2 ที่มีอาการรุนแรงมากกว่าเดิม หากปล่อยปละละเลยสัญญาณอันตรายนี้ไป

ระยะที่ 2  ปวดคงค้าง
จากระยะแรกเป็นปวดเมื่อยธรรมดา ระยะต่อมาร่างกายจะเริ่มปวดร้าวมากขึ้น เนื่องจากอวัยวะส่งสัญญาณบาดเจ็บออกมา อีกทั้งเมื่อกดไปยังบริเวณที่ปวด อาจมีอาการชาหรืออ่อนแรงตามมา ประสิทธิภาพในการทำงานอาจลดลงตามลำดับ และในระยะนี้อาการจะยังคงค้างอยู่ไม่หายไปไหน แม้ในยามหลับ ตื่น หรือแม้กระทั่งนั่งทำงานก็ตาม และยืนระยะความเจ็บปวดนี้เป็นเวลาหลายเดือน ถ้าไม่รีบแก้ไขเรื่องการทำงาน อาจนำมาสู่ความรุนแรงในระยะที่ 3

ระยะที่ 3 ปวดจนนอนไม่ได้
เรื่องใหญ่แน่นอน หากอาการปวดลามมาถึงการพักผ่อน จนไม่สามารถนอนหลับได้อย่างเต็มที่ นี่เป็นสัญญาณสุดท้ายที่ร่างกายฟ้องว่า ออฟฟิศซินโดรมได้เข้ามาในชีวิตอย่างเต็มรูปแบบ เพราะอาการปวดจะขัดขวางและรบกวนการนอนไม่ให้เป็นไปอย่างราบรื่น อีกทั้งงานเบาๆ ที่ทำอยู่โดยปกติ ก็ไม่สามารถทำได้อย่างคล่องตัวเหมือนเมื่อก่อน และอาการปวดครั้งนี้อาจยิงยาวไปเป็นปี จนส่งผลถึงการใช้ชีวิตประจำวันในรูปแบบอื่นๆ โดยระยะนี้ ถ้าเป็นแล้ว ขอให้รีบรักษาและจัดการทำงานให้ถูกต้องอย่างเร่งด่วนที่สุด

อย่าให้เป็นถึงระยะที่ 3 เลย เราดูแลตัวเองตั้งแต่ต้นได้ ด้วยการแค่ขยับก็เท่ากับออกกำลังกาย ไม่ต้องไปไกลถึงฟิตเนส แค่เปลี่ยนอิริยาบถ ลุก ยืน เดินบ้าง เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย ซึ่งนั่นทำให้ห่างไกลจากอาการ ‘ออฟฟิศซินโดรม’ ได้ หรือถ้าไม่มีเวลาจริงๆ อาจหาตัวช่วยดีๆ เช่น อุปกรณ์ยืดหยุ่นร่างกาย อย่าง Flexi Tube หรือ Perfect Tube เพื่อให้ร่างกายกลับเข้าสู่จุดสมดุลอีกครั้ง นั่นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันอาการ ‘ออฟฟิศซินโดรม’ ได้เป็นอย่างดี

Slide
ฟรี! ปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ
ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
ตามหลัก Ergonomics

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *