บทความสุขภาพ

3 Tips ลดอาการ’ปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง’

ปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง Bewell

การทำงานในปัจจุบันเต็มไปด้วยความเร่งรีบ ความเครียด และภาวะหมดไฟในการทำงานเต็มไปหมด แล้วใครจะรู้ว่าความเครียด และภาวะความท้อที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดอาการ ‘ปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง’ ได้ แถมยังเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ด้วย บางครั้งการลดความเครียดก็สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ แต่ใครจะรู้อาการปวดเหล่านี้ก็มีสาเหตุหลายปัจจัย แล้วเราจะสามารถช่วยลดและป้องกันปัจจัยไหนได้บ้าง ตามไปดู 3 เทคนิคสุดง่าย ที่จะช่วยพาเหล่าพนักงานออฟฟิศ ห่างไกลโรคร้ายอย่างออฟฟิศซินโดรมกันดีกว่า 

3 เทคนิคสุดง่าย ที่ใครก็ทำตามได้ 

ปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง Bewell

ใครจะรู้ว่าปัญหาอันดับต้น ๆ ของอาการปวดกล้ามเนื้อ ก็หนีไม่พ้นอาการปวดคอ บ่า ไหล่ อาการที่เหมือนมาเป็นแพ็คเกจ ปวดคอ แล้วก็ต้องตามมาด้วยบ่า ไหล่ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ปวดคอได้ ก็มาจากการนั่งทำงานที่หนักเกินไป และระดับของหน้าจอไม่เหมาะสมกับระดับสายตา ทำให้ต้องก้มคอเกินไป จึงทำให้กล้ามเนื้อคอทำงานหนัก จนอาจทำให้โครสร้างร่างกายเปลี่ยนแปลงไปเหมือนโรคที่ทุกคนเคยได้ยินอย่าง หลังค่อม ไหล่ห่อ คอยื่น นอกจากจะมีอาการ ‘ปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง’ แล้ว ยังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างหายใจไม่อิ่ม กล้ามเนื้อหดตึงรั้ง หรือบุกคลิกภาพเสียไปจากเดิม ซึ่งเราสามารถหาอุปกรณ์มาช่วยปรับให้เกิดท่านั่งที่ดีได้อย่าง “แท่นวางโน๊ตบุ๊ค” เพื่อสุขภาพ ที่จะช่วยปรับระดับโน๊ตบุ๊ค หรือหน้าจอไปแพดมห้อยู่ในระดับสายตามากขึ้น ไม่ต้องคอยก้ม ๆ มอง ๆ อีกต่อไป และยังเป็นการปรับให้ร่างกายตั้งตรง และเสริมบุคลิกภาพขณะนั่งให้ดีขึ้นอีกด้วย 

ปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง Bewell

การนั่งทำงานไม่ถูกลักษณะท่าทางเป็นเรื่องที่แก้ยากพอสมควรสำหรับพนักงานออฟฟิศ เพราะเวลานั่งทำงานเราก็มักจะเลือกท่านั่งที่สบายที่สุด และท่าที่สบายก็มักจะเป็นท่าที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อเมื่อนั่งสะสมไปเรื่อย ๆ เช่น ท่านั่งไขว่ห้าง เป็นท่าที่ทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานไม่สมดุลกันหากนั่งไปเรื่อย ๆ อาจทำให้เกิดกระดูกสันหลังคดได้ หรือท่านั่งขัดสมาธิอาจจะกดทับบริเวณข้อพับเข่า และตาตุ่มได้ ซึ่งท่าเหล่านี้จริง ๆ สามารถนั่งได้แต่ไม่ควรนั่งตลอดเวลา ควรปรับเปลี่ยนท่านั่งไปเรื่อย ๆ เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อคงค้างในท่าเดิมเป็นเวลานาน และอีกวิธีหนึ่งคือที่จะช่วยซัพพอร์ตกล้ามเนื้อให้นั่งได้สบายและถูกสรีระร่างกายมากขึ้น ต้องเสริมด้วยเบาะรองหลัง และรองนั่ง เพราะการนั่งให้หลังชิดกับพนักพิงมากที่สุดจะช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อหลังและช่วยลดการกดทับของกระดูกสันหลังได้ และตัวเบาะรองนั่งช่วยทำให้การลงน้ำหนักของก้นได้เท่ากันทั้งสองฝั่ง และยังช่วยลดการกดทับของกระดูกก้นกบได้อีกด้วย 

ปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง Bewell

นอกจากการเสริมด้วยอุปกรณ์อย่างแท่นวางโน๊ตบุ๊ค และเบาะรองหลัง รองนั่ง เพื่อปรับให้ร่างกายและสภาพแวดล้อมรวมถึงอุปกรณ์ในการทำงานเป็นไปตามหลักการยศาสตร์แล้วนั้น วิธีสำคัญที่จะช่วยป้องกันอาการบาดเจ็บและลดภาวะการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้นั้น คือ การพักระหว่างการทำงานบ่อย ๆ ตามงานวิจัยแนะนำว่าควรลุกออกจากโต๊ะทำงานหรือขยับร่างกายทุก ๆ 20 – 30 นาที เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเกร็งค้างในท่าเดิมจนทำให้กล้ามเนื้อตึงตัวและแข็งเป็นก้อน จนขยับได้ลำบาก หรือเกิดอาการปวดร้าวได้ เช่น คนที่ปวดกล้ามเนื้อบริเวณคอบ่ามาก ๆ บางครั้งก็มีอาการร้าวขึ้นศีรษะ หรือร้าวลงแขนได้ เมื่อพักแล้วก็ควรต่อด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับร่างกาย หากกล้ามเนื้อตึงตัวมาก ๆ นอกจากอาการปวดที่เกิดขึ้น บางครั้งก็จำกัดการเคลื่อนไหวของร่างกายด้วย และสิ่งสุดท้ายที่ทำให้เราจะไม่กลับมาปวดหลังอีก คือการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อนั้นเอง อย่างเช่น คนที่มีอาการปวดหลัง ส่วนใหญ่มักจะมีปัญหากล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวอ่อนแรง หรือไม่มั่นคงมากพอ ก็ต้องออกกำลังกายในส่วนนี้เพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กับแนวกระดูกสันหลัง จะได้ช่วยลดอาการปวดหลัง และยังป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นที่บริเวณหลังได้อีกด้วย 

อุปกรณ์เสริมลดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง 

ด้วยไอเท็มลับเพียง 2 อย่างที่ได้แนะนำไปอย่าง แท่นวางโน๊ตบุ๊ค และเบาะรองหลัง รองนั่ง เป็นอุปกรณ์เสริมที่มีคุณสมบัติพรีเมียม แท่นวางโน๊ตบุ๊ค ที่มีน้ำหนักเบา พักพาสะดวก ใช้งานง่าย ๆ เพียงแค่ 3 วิธี กาง ปรับ ล็อค ก็จะได้แท่นวางที่อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งาน ช่วยทำให้ไม่ต้องคอยก้มคอขณะทำงาน และยิ่งเสริมการนั่งด้วยเบาะรองหลัง และรองนั่งที่ออกแบบด้วยนักกายภาพบำบัด ผู้เชี่ยวชาญด้านสรีะร่างกายก็ยิ่งตอบโจทย์ในการนั่งทำงานให้สบายมากขึ้น ด้วยวัสดุเมมโมรี่โฟม ผสมผงถ่านชาร์โคล ลดกลิ่นอับ ทำให้นั่งแล้วไม่ต้องกังวลเรื่องกลิ่นอับกันเลยทีเดียว อย่าให้การนั่งทำงานไม่ถูกท่ามาทำร้ายคุณ แบบนี้ต้องจับจองเป็นเจ้าของกันแล้ว 

Slide
ฟรี! ปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ
ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
ตามหลัก Ergonomics

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *