บทความสุขภาพ

ปวดหลังร้าวลงขา เกิดจากอะไร

ปวดหลังร้าวลงขา Bewell

เมื่ออาการปวดหลังไม่ได้ปวดแค่หลังอีกต่อไป ในปัจจุบันอาการปวดหลังมีมากมายหลากหลายรูปแบบ อาการหนึ่งที่คนส่วนใหญ่เป็นกันเลยก็คือ “ปวดหลังร้าวลงขา” บ้างก็ปวดหลังร้าวลงขาด้านขวา บางก็ปวดหลังร้าวลงขาด้านซ้าย อาการปวดที่ว่าบางครั้งก็มีปวดแปล๊บๆ หรือมีอาการชาร่วมด้วย 

ปวดหลังร้าวลงขา Bewell

อาการปวดหลังร้าวลงขา ที่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ 

อาการปวดหลังร้าวลงขา เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ยกตัวอย่างเช่น กล้ามเนื้อหลังอักเสบ กล้ามเนื้อสะโพกหนีบทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังหักเคลื่อนไปทับเส้นประสาท กระดูกเสื่อม หรือหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท เป็นต้น แต่ถ้าพูดถึงอาการปวดหลังร้าวลงขา โรคที่ทุกคนจะนึกถึงกันเลยก็คือ โรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า  Herniated Nucleus Pulposus (HNP) โดยจะเกิดจากส่วนประกอบในหมอนรองกระดูกสันหลัง(Dics) เคลื่อนออกจากขอบช่องว่างระหว่างกระดูกสันหลัง โดยการเคลื่อนจะหมายถึง ภาวะการยื่น ปลิ้น หรือแตกออกของหมอนรองกระดูกสันหลัง ซึ่งมักเกิดจากหมอนรองกระดูกมีการเสื่อม และเริ่มมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อที่มีชื่อว่า Annulus ซึ่งการฉีกขาดของเนื่อเยื่อและความเสื่อมของหมอนรองกระดูกก็มาจากพฤติกรรมการทำงานของเรา เช่น ก้มหลังยกของหนักๆ มีการเอี้ยวตัวบ่อยๆ ทำให้ตัวหมอนรองกระดูกเกิดการฉีกขาดมากขึ้นและเคลื่อนไปทับเส้นประสาทไขสันหลัง และทำให้เราเกิดอาการปวดหลังและอาการชาร่วมด้วยนั้นเอง

โดยระยะความรุนแรงของการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกสันหลังก็มีอยู่ด้วยกัน 4 ระยะ ดังนี้ 

ปวดหลังร้าวลงขา Bewell
  1. ระยะที่ 1 : Bulging disc คือ หมอนรองกระดูกสันหลังมีความผิดปกติ จะเริ่มมีอาการอักเสบ มีส่วนประกอบของหมอนรองกระดูกสันหลังไหลออกจากแนวกลางของหมอนรองกระดูกสันหลัง เข้าไปแทรกในส่วนของเนื่อเยื่อ Annulus แต่ยังไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ Annulus fibrosus  ในระยะนี้จะมีอาการปวดหลังเป็นส่วนใหญ่
  2. ระยะที่ 2 : Protrusion คือ เริ่มมีส่วนประกอบของหมอนรองกระดูกสันหลังคลื่อนเข้าไปในเนื้อเยื่อ Annulus เพิ่มมากขึ้น ทำให้เนื้อเยื่อดังกล่าวมีการโป่งออกจากช่องว่างของกระดูกสันหลัง แต่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของช่องว่างของกระดูก  ในระยะนี้จะมีอาการปวดหลังและเริ่มมาอาการปวดร้าวลงขาบ้าง 
  3. ระยะที่ 3 : Extrusion คือ ส่วนประกอบของหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนออกไปผ่านเนื้อเยื่อ Annulus ไปเข้าสู่ช่องของเส้นประสาทไขสันหลัง แต่ยังไม่หลุดออกเป็นก้อนอิสระ ในระยะนี้จะมีอาการปวดหลังและร่วมกับอาการปวดร้าวลงขาด้วย 
  4. ระยะที่ 4 : Sequestration คือ ส่วนประกอบของหมอนรองกระดูกสันหลังได้เคลื่อนผ่านเนื้อเยื่อ Auunlus ไปเข้าสู่ช่องของเส้นประสาทไขสันหลัง และหลุดออกเป็นก้อนอิสระ ในระยะนี้จะมีอาการปวดร้าวลงขาเป็นส่วนใหญ่ 

อาการของโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

ปวดหลังร้าวลงขา Bewell
  1. มีอาการปวดหลัง โดยเฉพาะบริเวณหลังส่วนล่าง ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเป็นส่วนใหญ่เนื่องจาก อาการของโรคนี้มักจะพบที่กระดูกสันหลังส่วนเอวข้อที่ 4-5 (L4-L5) ถึงกระดูกก้นกบข้อที่ 1 (S1) ซึ่งเป็นบริเวณหลังส่วนล่างของร่างกายทำให้อาการปวดเด่นชัดที่บริเวณดังกล่าว 
  2. มีอาการปวดร้าวไปตำแหน่งอื่น เช่น ปวดหลังร้าวลงขา อาการชาหรือปวดร้าวลงขาเกิดจากการที่หมอนรองกระดูกมันปลิ้นไปทับเส้นประสาทไขสันหลังที่เลี้ยงบริเวณขาทำให้เราเกิดอาการชาร้าวไปบริเวณขาได้ 
  3. เวลาไอ หรือจาม จะมีอาการปวดแปล๊บๆ ที่บริเวณที่ปวด เนื่องจากเวลาไอหรือจามจะเกิดแรงดันเพิ่มมากขึ้นเมื่อเกิดแรงดันภายในมันก็จะไปดันตัวหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นอยู่แล้วให้ไปกดทับเส้นประสาทจนทำให้เรารู้สึกชาแปล๊บหรือปวดมากขึ้นได้ 
  4. มีอาการชา และอาจมีกล้ามขาเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย อาการชาก็เกิดมาจากการกดทับของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงตามขา และหากกดทับไปเรื่อยๆเป็นเวลานานๆ จะทำให้เส้นประสาทเกิดความเสียหายส่งผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการอ่อนแรงได้ 
  5. อาจมีภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เนื่องจากหมอนรองกระดูกสันหลังที่ปลิ้นออกไปจะกดทับเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงอวัยวะที่ทำหน้าที่กลั้นปัสสาวะและอุจจาระทำให้อาจจะเกิดปัญหาการกลั้นปัสสาวะและอุจจาระไม่อยู่ในบางราย

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงโรคหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

ปวดหลังร้าวลงขา Bewell
  1. พฤติกรรมและการใช้งาน เช่น ก้มยกของหนักเป็นประจำ งานที่ต้องใช้หลังแบกหาม เป็นต้น 
  2. การใช้งานร่างกายที่ผิดจากหลักการยศาสตร์ เช่น การก้มๆเงยๆ ในการยกของหนักเป็นประจำ และใช้เวลานาน การนั่งก้มตัวยกของ การนั่งหลังค่อมมากๆ เพราะจะทำให้น้ำหนักไปกดลงที่หมอนรองกระดูกสันหลังเป็นส่วนใหญ่ 
  3. การสูบบุหรี่ เป็นปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมได้ไวขึ้น เนื่องจากขาดออกซิเจนไปเลี้ยงหมอรองกระดูกสันหลัง ทำให้สูญเสียความยืดหยุ่น ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของหลังที่ลดลงตามมา 
  4. ผู้ที่มีปัญหาภาวะน้ำหนักเกิน หรือมีภาวะอ้วน คนที่มีน้ำหนักมากจะทำให้นำหนักของร่างกายกดทับลงบนแนวกระดูกสันหลังมากกว่าปกติ ทำให้เกิดภาวะของกระดูกเสื่อมได้ง่ายคนทั่วไป 
  5. กลุ่มคนที่ออกกำลังกายน้อย หรือ Sedentary lifestyle คือกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง หรือใช้ชีวิตและทำกิจกรรมน้อย ไม่ค่อยออกกำลังกาย เช่น พนักงานออฟฟิศที่ทำงานหน้าคอมทั้งวันไม่ลุกไปไหน เมื่อร่างกายไม่ได้รับการขยับหรือออกกำลังกายเลยก็อาจจะทำให้กล้ามเนื้อร่างกายไม่แข็งแรง และความทนทานของกล้ามเนื้อก็ต่ำลง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยเสียงที่ทำให้เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ในอนาคต 

วิธีการรักษาและดูแลตัวเอง

ปวดหลังร้าวลงขา Bewell

การรักษาทางแพทย์

  1. การทานยาเพื่อระงับอาการปวด เช่น ยาไอบูโพรเฟน หรือยานาพรอกเซน หรือยาคลายกล้ามเนื้อ
  2. การฉีดยา เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อระงับอาการปวดและทำให้ช่วยพักฟื้นอาการปวดได้ดี 
  3. การผ่าตัด จะกระทำในกรณีที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เช่น กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของขา เป็นต้น เพื่อลดการกดทับของหมอนรองกระดูกสันหลัง 

การรักษาทางกายภาพบำบัด 

  1. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การก้มยกของหนัก การก้มๆเงยๆ และท่านั่งทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น ท่านั่งหลังค่อม 
  2. การยืดกล้ามเนื้อในส่วนที่มีความตึงตัว เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อบริเวณที่เกิดปัญหา 
  3. การออกกำลังกาย การเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้กับแกนกลางลำตัวจะช่วยเพิ่มความมั่นคงให้กระดูกสันหลัง ทำให้ลดความเสี่ยงที่อาจจเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นได้ 
  4. การใช้เครื่องมือในรักษา เช่น เครื่องดึงหลัง เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า หรือเครื่องอัลต้ราซาวด์ เพื่อลดอาการปวดและลดการกดทับของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท 

ปัญหาอาการปวดหลังจะบรรเทาด้วย เบาะรองนั่งและรองหลัง รุ่นเออร์โกคุชชั่น 

ด้วยปัญหาอาการปวดหลังร้าวลงขา ก็สามารถพบได้กับพนักงานออฟฟิศเช่นกันเพราะพนักงานบางคนต้องมีการยกของอยู่บ่อยๆ และก็ต้องกลับมานั่งทำงานต่ออีก ทำให้น้ำหนักตัวทั้งหมดกดลงไปที่หมอนรองกระดูกสันหลังมากกว่าปกติทำให้เวลานั่งควรจะมีตัวช่วยมาลดน้ำหนักที่กดทับลงบนแนวกระดูกสันหลังเพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อหลัง ให้ทำงานได้สบายมากขึ้น รวมถึงเบาะรองนั่งที่จะช่วยทำให้นั่งสบายไม่เกิดการกดทับบริเวณก้นกบและใต้ข้อพับเข่าอักด้วย ตัวเบาะทั้งสองทำจากเมมโมรี่โฟมแท้ 100% นั่งแล้วยุบคืนตัวแน่นอน ปลอกผ้าเป็น Cooling cotton เนื้อผ้าจะเย็นสบาย สามารถถอดไปซักได้ และที่สำคัญตัวเบาะรุ่นนี้ยังออกแบบร่วมกับนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรศาสตร์ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย มาช่วยปรับทำให้เบาะนั่งได้ถูกต้องและสบายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย 

Slide
ฟรี! ปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ
ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
ตามหลัก Ergonomics

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *