บทความสุขภาพ

7 วิธีปรับท่านั่งขับรถไม่ให้ปวดคอ ปวดหลัง

ท่านั่งขับรถ Bewell

อาการปวดคอ ปวดหลัง เรามักจะพบในกลุ่มของพนักงานออฟฟิศเป็นหลัก แต่แท้จริงแล้วอาการปวดคอ ปวดหลัง ก็สามารถพบได้ใกล้ตัวกว่าที่คิด อย่างที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ ท่านั่งขับรถ โดยเฉพาะการขับรถในกรุงเทพที่มีการจราจรติดขัด ทำให้ต้องใช้เวลาอยู่ในรถนานกว่าปกติจนทำให้เกิดอาการต่างๆ ตามมาได้ เช่น อาการปวดกล้ามเนื้อตามจุดต่างๆของร่างกาย หรือแม้กระทั่งอาการเครียดที่เกิดจากการขับรถ

7 วิธีปรับท่านั่งขับรถให้ถูกต้อง 

ท่านั่งขับรถ Bewell

1. การปรับเบาะรถ 

ควรทำเป็นอันดับแรก ๆ ของการนั่งขับรถ เพื่อให้”ท่านั่งขับรถ”อยู่ในตำแหน่งที่ถูก โดยเริ่มจากต้องเลื่อนเบาะให้ระดับของขาอยู่พอดี ไม่ให้เข่าเหยียดหรืองอจนเกินไป ควรให้เท้าของเราเหยียบคันแร่งหรือเบรกได้จนสุด และหากเรานั่งงอเข่า งอสะโพกมากจนเกินไปอาจจะทำให้ตัวเรางอส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังได้ ดังนั้นเวลานั่งควรจะให้หลังของเราชิดกับเบาะรถให้มากที่สุด

ท่านั่งขับรถ Bewell

2. การปรับพนักพิงหลัง

เวลานั่งพิงเบาะรถไม่จำเป็นต้อง 90 องศา ควรเอนเบาะไปด้านหลังเล็กน้อยให้การนั่งขับรถรู้สึกสบายๆ แต่ก็ไม่ควรเอนมากจนเกินไป เพราะจะทำให้การจับพวงมาลัย หรือตำแหน่งของของขาในการเหยียบคันเร่งอยู่ในจุดที่ไม่เหมาะสม 

ท่านั่งขับรถ Bewell

3. การปรับพนักพิงศีรษะ 

เบาะรถที่ดีควรมีพนักพิงศีรษะ เพราะจะคอยซัพพอร์ตเวลาเรานั่ง ระดับของพนักพิงศีรษะส่วนบนสุดต้องอยู่ที่ระดับเปลือกตาของผู้ขับขี่ เพื่อจะช่วยป้องกันไม่ให้คอสะบัดอย่างรุนแรงไปทางด้านหลัง (Whislap injury) จากอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และป้องกันไม่เกิดอาการเจ็บที่ศีรษะได้ด้วย

ท่านั่งขับรถ Bewell

4. ที่วางแขน 

รถบางคันจะมีที่วางแขนมาให้ ถ้าจำเป็นต้องวางแขนก็ควรให้อยู่ในระดับขนานกับลำตัว ไม่อยู่เยื้องไปด้านหลังหรือด้านหลัง เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อไหล่ได้ถูกยืดได้ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ปวดไหล่ได้ แต่เวลาขับรถควรจะจับพวงมาลัยทั้งสองมือเพื่อความปลอดภัยในการขับขี่

ท่านั่งขับรถ Bewell

5. ระยะแขนกับพวงมาลัย

การจับพวงมาลัยก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยวัดง่ายๆ โดยยื่นแขนออกไปแล้วให้ระดับข้อมือของเราอยู่ตรงกับข้อมือพอดี พอจับพวงมาลัยแล้วจะทำให้แขนไม่เหยียดตึงหรืองอมากเกินไป มุมข้อศอกจะอยู่ที่มุมประมาณ 120 องศา และการจับพวงมาลัยให้จับตามเข็มนาฬิกาเลข 3 กับ 9 และไม่ควรขับรถด้วยมือเดียว 

ท่านั่งขับรถ Bewell

6. การปรับท่านั่ง 

การปรับท่านั่งให้ถูกต้อง เพื่อให้ร่างกายเข้ากับเบาะรถทำให้กล้ามเนื้อไม่ถูกยืด หรือต้องเกร็งตลอดดเวลาที่ขับรถ ทำให้กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บจนเกิดอาการปวดหลัง หรือปวดตามตำแหน่งอื่นๆ ตามมาได้

ท่านั่งขับรถ Bewell

7. การเสริมเบาะรองหลังและหมอนรองคอ

บางครั้งเบาะรถก็ไม่ได้เข้ากับสรีระร่างกายคนเราทุกคน ทำให้การเสริมเบาะจะทำให้รองรับหลังเราได้มากขึ้น และทำให้เกิดความสบายขณะขับรถด้วย อีกทั้งหมอนรองคอจะช่วยรองรับการสะบัดคอไปด้านหลังได้ หากเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์  และยังป้องการบาดเจ็บที่อาจจะขึ้นกับกระดูกคอได้ด้วย

นอกจากการปรับ”ท่านั่งขับรถ” การปรับเบาะรถ หรือการเสริมเบาะที่จะช่วยปรับให้ร่างกายขณะขับรถอยู่ในท่าที่เหมาะสม และช่วยลดอาการปวดหลัง หรือความเมื่อยได้นั้น แต่สิ่งสำคัญเลยก็คือการยืดกล้ามเนื้อเนื่องจากการขับรถมาเป็นเวลานานทำให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัวได้ การยืดกล้ามเนื้อก็จะช่วยลดความตึงตัวและความเมื่อยล้าจากการใช้งานหนักได้เช่นกัน

คลายเมื่อยหลังจากการขับรถด้วย เบาะรองหลังและหมอนรองคอในรถยนต์

เมื่อการขับรถในกรุงเทพที่เป็นเมืองที่รถติดอันดับต้นของโลก พูดง่ายๆว่ากว่าจะถึงที่ทำงานบางครั้งนั่งกันจนเหน็บชา ไม่ก็หลับแล้วหลับอีกก็ยังไม่ถึงที่หมายซักที อาการปวดตามร่างกายก็เริ่มถามหา ความไม่สบายตัวเริ่มก่อเกิดทำให้หงุดหงิดขณะขับรถได้ Bewell ขอนำเสนอตัวช่วยอย่างเบาะรองหลังและหมอนรองคอในรถยนต์ ตัวช่วยที่จะทำให้การขับรถสบายมากยิ่งขึ้น ตัวเบาะรองหลังที่ออกแบบมาให้รองรับได้ทั้งแผ่นหลัง นุ่มสบายด้วยเมมโมรี่โฟม 100% นั่งพิงไปแค่ไหนเบาะก็ไม่เสียหาย ตัวปลอกหุ่มเป็นผ้า Cooling silk เย็นสบาย ระบายอากาศได้ดีอีกด้วย และหมอนรองคอในรถที่ทำจากเมมโมรี่โฟมเช่นเดียวกัน จะทำให้การพิงศีรษะในรถเป็นเรื่องง่ายๆ สบายคอ แถมยังป้องกันอาการบาดเจ็บของคอที่อาจจะเกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนได้อีกด้วย

Slide
ฟรี! ปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ
ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
ตามหลัก Ergonomics

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *