บทความสุขภาพ

ออฟฟิศซินโดรม คือ โรคร้ายที่ได้จากการทำงาน

ออฟฟิศซินโดรม คือ Bewell

หากมีใครมาบอกคุณว่าปวดคอ ปวดบ่าขนาดนี้ เป็นออฟฟิศซินโดรมแน่เลย อย่าเพิ่งเชื่อ ! เพราะออฟฟิศซินโดรมที่ใครหลายคนรู้จักยังอาจจะเป็นโรคที่เข้าใจกันผิดอยู่ก็เป็นได้ ออฟฟิศซินโดรม คือ โรคที่เหล่าพนักงานบริษัทต่างกังวลใจมากที่สุด เพราะแค่นั่งทำงานเฉย ๆ ทำไมถึงมีอาการปวดตึงคอ บ่า ได้ หรือบางครั้งก็มีอาการชาตามมือ ตามแขน หรือขาได้ แล้วออฟฟิศซินโดรมที่แท้จริงคือโรคอะไรกันแน่ มีวิธีการรักษาให้หายขาดหรือไม่ หรือต้องป้องกันตัวเองด้วยวิธีไหน ไปทำความรู้จักกับกลุ่มโรคออฟฟิศซินโดรมกันเถอะ 

ออฟฟิศซินโดรม คือ

ออฟฟิศซินโดรม คือ Bewell

ออฟฟิศซินโดรม คือ ชื่อเรียกกลุ่มอาการของโรคกระดูกและกล้ามเนื้อของคนที่ทำงานบริษัท หรืองานที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมอยู่ตลอดเวลา เช่น ฟรีแลนซ์ ตัดต่อ เกมเมอร์ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นมาจากการนั่งทำงานหน้าคอมเป็นระยะเวลานาน ๆ การใช้เมาส์ แป้นพิมพ์ที่มากเกินไป หรือการใช้สายตามองหน้าจอคอม หรือเอกสารตลอดทั้งวัน เป็นต้น โดยอาการส่วนใหญ่ที่แสดงออกจะเป็นอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และหลัง หรือบางทีก็มีอาการปวดข้อมือ ชาร้าวลงแขน หรือมือชา ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการที่ถูกพบเป็นส่วนใหญ่ของเหล่าพนักงานออฟฟิศ ซึ่งจริง ๆ แล้วหากเรามีอาการปวดคอ บ่า หลัง จากการทำงานหน้าคอม เราก็มักจะคิดว่าตัวเองเป็นออฟฟิศซินโดรม แต่ในความจริงแล้วนั้นออฟฟิศซินโดรมเป็นเพียงชื่อเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ เท่านั้น เพราะถ้าใครบอกว่าเป็นออฟฟิศซินโดรมก็คงเป็นอาการที่กว้างมากจนต้องมีการตามหาสาเหตุและตัวโรคกันเพิ่มเติมอย่างแน่นอน

ปัจจัยโดยรวมที่อาจทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม คือ Bewell

      1.ปัจจัยทางจิตใจ และการทำงานในบริษัท 

เมื่อสภาพจิตใจ และหน้าที่ที่เราได้รับมอบหมาย ตำแหน่งงานที่เราทำ หรือการจัดการภายในองค์กรหรือบริษัทนั้น ๆ ซึ่งสภาพการทำงานในบริษัทอาจทำให้เกิดการแสดงออกของเพื่อนร่วมงาน หรือการแสดงออกของตัวเรากับงานที่ทำ เช่น สังคมในการทำงานดี เป็นงานที่เราชอบและถนัด ก็ส่งผลให้การทำงานไม่อยู่ภายใต้ความกดดัน หรือเกิดความเครียดสะสม ก็จะทำให้เรามีสุขภาพจิตที่ดี ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นได้ แต่ถ้าหากสังคมในการทำงานมีแต่ความเครียด ความกดดัน ก็อาจส่งผลต่ออาการปวดที่สะสมของกล้ามเนื้อ จนเป็นกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง หรือโรคอื่น ๆ ตามมาได้ 

       2.ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมในการทำงาน 

สภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นปัจจัยที่สามารถส่งเสริมให้เกิดการบาดเจ็บสะสมของร่างกายได้ อย่างเช่น อุปกรณ์อย่างโต๊ะทำงาน เก้าอี้ หรือเมาส์ ที่ไม่เอื้อต่อสรีระร่างกาย จนทำให้กล้ามเนื้อได้รับการบาดเจ็บหรือออฟฟิศมีอากาศหนาวหรือร้อนเกินไป หรือมีเสียงดังรบกวน ก็อาจจะส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือดในร่างกายได้ 

ตัวอย่างกลุ่มโรคที่เกิดจากการทำงาน

ออฟฟิศซินโดรม คือ Bewell

     1.กลุ่มอาการปวด

ไม่ว่าจะปวดคอ บ่า ไหล่ และหลังส่วนล่าง มักจะเกิดโรคหนึ่งขึ้นมาจากการนั่งทรงท่าเดิม ๆ ขณะนั่งทำงาน จนกล้ามเนื้อเกร็งตัวตลอดเวลา และเมื่อเป็นซ้ำ ๆ ก็ทำให้กล้ามเนื้อได้รับการบาดเจ็บสะสมมาเรื่อย ๆ จนกลายเป็น กล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า “Myofascial Pain Syndrome” ซึ่งเป็นกลุ่มอาการหลัก ๆ ที่เกิดขึ้นกับพนักงานที่ทำงานหนักเลยก็ว่าได้ 

สนใจเช็คอาการกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง อ่านเพิ่มเติม : https://www.bewellstyle.com/blog/myofascial-pain-syndrome/

       

     2. กลุ่มอาการอักเสบเฉพาะที่

เมื่อใช้งานข้อมือหนัก ๆ อย่างการคลิกเมาส์หนัก ๆ หรือการพิมพ์งานตลอดทั้งวัน แล้วข้อมือหรือนิ้วมือไม่ได้พักการใช้งาน ก็สามารถทำให้เอ็นข้อมือ หรือเอ็นข้อนิ้วมืออักเสบได้ หรือโรคที่ทุกคนรู้จักกันดีอย่าง นิ้วล็อค (Trigger finger) ก็เป็นอีกอาการยอดฮิตของพนักงานบริษัทเช่นกัน 

เมื่อนิ้วล็อค อาจมาจากการใช้เมาส์ หรือมือถือมากเกินไป ต้องแก้ไขยังไง อ่านเพิ่มเติม : https://www.bewellstyle.com/blog/trigger-finger-treatment/

       

     3. กลุ่มอาการกดทับ

เมื่อกล้ามเนื้อเกิดอาการบาดเจ็บก็มักจะมีกลไกป้องกันตัวเองด้วยการเกร็งกล้ามเนื้อขึ้นมา ซึ่งเมื่อเกิดการบาดเจ็บซ้ำ ๆ ก็ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการตึงตัว และไปกดทับเส้นเลือดหรือเส้นประสาทได้ อย่างกลุ่มอาการกดทับเส้นเลือด เส้นประสาท บริเวณต้นแขนใต้ข้อต่อกระดูกไหปลาร้า (Thoracic outlet syndrome) หรืออย่างคนใช้เมาส์ หรือแป้นพิมพ์ที่หนักเกินไป ก็อาจจะเป็นเกิดการกดทับของเส้นประสาทกลางของข้อมือ (Carpal tunnel syndrome) ทำให้เกิดอาการชามือ หรือปวดข้อมือได้ 

อาการปวดข้อมือ มือชา จะมีวิธีดูแลตัวอย่างไรบ้าง อ่านเพิ่มเติม : https://www.bewellstyle.com/blog/relief-wrist-pain/

 

นอกจากกลุ่มตัวอย่างโรคที่กล่าวมา ก็ยังมีอาการอื่น ๆ แทรกซ้อนได้อีก ไม่ว่าจะเป็นอาการสายตาล้า ตาไวต่อแสง หรือระคายเคืองตาได้ง่ายกว่าปกติ หรืออาจทำให้ระบบการหายใจแย่ลง หายใจได้ไม่เต็มปอด ทำให้เกิดภาวะเหนื่อยง่ายได้ เป็นต้น 

แนวทางลดความเสี่ยงของการเกิดออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรม คือ Bewell

กลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมเป็นกลุ่มที่มีอาการหลากหลาย และสามารถเป็นไปได้หลายโรค แต่เทคนิคในการป้องกันตัวเองสามารถป้องกันอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ โดยจะมีวิธีการดังนี้ 

     1.ปรับท่าทางในการนั่งทำงาน 

การปรับท่าทางเพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดความสบายในการนั่ง โดยปรับให้ศีรษะตั้งตรง ไม่ยื่นหรือก้มมากเกินไป หลังให้แนวชิดกับพนักพิงหลังหรือเบาะรองหลัง ไม่จำเป็นต้องตั้งตรง 90 องศาซะทีเดียวนั่งให้สบายหลังมากที่สุด เพื่อให้กล้ามเนื้อไม่เกร็ง และระดับของแขน มือ ควรพอดีกับเมาส์และแป้นพิมพ์ ไม่ยกขึ้นเพราะทำให้เกร็งกล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่าไหล่ได้ มุมเข่ากับสะโพกควรอยู่ในมุม 90-100 องศา เพื่อปรับให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม และเท้าวางราบกับพื้นไม่เท้าลอย จะได้ลดการกดทับใต้พับเข่าขณะนั่งได้ หรือการเสริมเบาะรองนั่งก็สามารถช่วยลดการกดทับของปุ่มกระดูกก้บกบ ทำให้การนั่งสบายมากยิ่งขึ้นได้ด้วย การนั่งควรขยับหรือเปลี่ยนอิริยาบถทุก ๆ 30 นาที เพื่อไม่ให้เกิดการคงค้างขอกล้ามเนื้อในท่าใดท่าหนึ่งนานจนเกินไป เพราะถ้าหากเรานั่งท่าเดิมนานจนเกินไป อาจทำให้กล้ามเนื้อเกิดความตึงตัว และอาการปวดตามมาได้

ออฟฟิศซินโดรม คือ Bewell

     2.การปรับสภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ในการทำงาน

การปรับหรือจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นได้ โดยเริ่มจากบรรยากาศบนโต๊ะทำงาน ควรจัดเอกสารให้เรียบร้อย หยิบใช้งานได้ง่ายสะดวก ไม่เสียเวลาในการหาของ หรือเอกสาร การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ อย่างเช่น เมาส์ ควรหันมาใช้เมาส์ที่เข้ากับสรีระของมือ ไม่ทำให้เกิดการหมุนบิดของข้อมือ ร่วมกับเสริมแผ่นรองข้อมือ ทำให้ช่วยลดการเสียดสีของข้อมือกับโต๊ะทำงานได้ เป็นการช่วยลดการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดจากการทำงานได้ และยังช่วยบรรเทาอาการปวดข้อมือได้อีกทางหนึ่งด้วย

ออฟฟิศซินโดรม คือ Bewell

     3.การปรับพฤติกรรม

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมถือว่าเป็นการดูแลตัวเองที่ทำได้ยากที่สุดแล้วสำหรับการทำงานในออฟฟิศ เพราะกว่าร่างกายจะแสดงอาการปวด กล้ามเนื้อก็เกิดความเคยชินจนเปลี่ยนโครงสร้างของกล้ามเนื้อไปแล้วก็มี เช่น บางคนหลังค่อม ไหล่ห่อ คอยื่น จากการยื่นหน้าเข้าไปใกล้จอคอมมากเกินไป หรือการใช้เมาส์หนักมาก จนเกิดอาการชาฝ่ามือ ดังนั้นการปรับพฤติกรรมจึงเป็นสิ่งที่เราควรเริ่มทำให้ถูกต้อง ทั้งการปรับท่านั่ง การหาอุปกรณ์เสริมมาซัพพอร์ตร่างกาย การพักระหว่างการทำงานทุก ๆ 1 -2 ชั่วโมง หรือไม่ควรนั่งท่าไขว่ห้าง หรือขัดสมาธินานจนเกินไป การยืดกล้ามเนื้อ และการออกกำลังกายเพื่อมเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรงอยู่เสมอ 

ออฟฟิศซินโดรม คือ Bewell

     4.การบริหารร่างกาย 

เมื่อเราปรับท่านั่ง ปรับอุปกรณ์ ร่วมกับการปรับเลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานแล้วนั้นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดและป้องกันอาการปวดเลยก็คือ การยืดกล้ามเนื้อ ร่วมกับการออกกำลังกายให้ถูกกับปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น หากเกิดอาการปวดคอ บ่า ก็ควรหาท่ายืดกล้ามเนื้อคอ บ่า ให้ถูกต้อง ร่วมกับการออกกำลังกายคอ เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง เป็นต้น ซึ่งการออกกำลังกายควรจะทำให้สม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อได้รับการบาดเจ็บจากการนั่งทำงานเป็นระยะเวลานาน ๆ  

รวมท่าบริหารร่างกาย บรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม อ่านเพิ่มเติม : https://www.bewellstyle.com/blog/30-exercise-for-office-worker/

เพื่อสุขภาพในการนั่งทำงานที่ดีขึ้น อุปกรณ์เสริมเหล่านี้จึงจำเป็น 

อยากจะสุขภาพดี ไม่อยากเป็นออฟฟิศซินโดรม นอกจากปรับพฤติกรรม ออกกำลังกายแล้ว ก็ควรมีอุปกรณ์เสริมเพิ่อเพิ่มประสิทธิในการทำงานและเพิ่มคุณภาพชีวิตไปพร้อม ๆ กัน ด้วยอุปกรณ์เหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็น เบาะรองหลัง เบาะรองนั่ง ช่วยปรับและกระตุ้นให้เกิดท่านั่งที่ถูกต้อง ลดการกดทับของหมอนรองกระดูกสันหลังและปุ่มกระดูกก้นกบ ด้วยวัสดุเมมโมรี่โฟมที่มีความเฟิร์ม นั่งแล้วสบาย เหมาะกับการนั่งทำงานในออฟฟิศเป็นอย่างมาก อีกทั้งอุปกรณ์เสริมอย่างเมาส์ไร้สาย ตัวช่วยที่จะลดการหักข้อมือ หมุนบิดข้อมือที่มากเกินไป ปปรับให้ข้อมืออยู่ในสรีระที่ถูกต้องมากขึ้น เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อมือ และเสริมด้วยแผ่นรองเมาส์ และข้อมือ ที่จะมาลดการเสียดสีของข้อมือกับโต๊ะทำงาน เพื่อลดอาการปวดข้อมือ และเพิ่มความสบายให้กับการวางมือเวลาใช้เมาส์และแป้นพิมพ์อีกด้วย 

Slide
ฟรี! ปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ
ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
ตามหลัก Ergonomics

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *