บทความสุขภาพ

ไขข้อข้องใจ หักนิ้วแล้ว ช่วยลดอาการปวดได้จริงไหม

หักนิ้ว Bewell

วัยทำงาน หรือพนักงานออฟฟิศหลาย ๆ คนเวลาที่นั่งทำงาน หรือพิมพ์งานนาน ๆ ก็มักจะมีอาการปวดเมื่อยนิ้ว ปวดเมื่อยตามข้อมือจนต้องพักมือหยุดทำงานแล้วหักนิ้ว บิดข้อมือเพื่อคลายอาการปวดเมื่อยกันสักเล็กน้อย ส่วนสาเหตุหลัก ๆ ก็มักจะเกิดจากการวางมือ หรือวางแขนในระหว่างการทำงานบนหน้าคอมพิวเตอร์อย่างผิดวิธี รวมถึงการใช้เม้าส์ที่ไม่รองรับกับอุ้งมือจนทำให้ทำงานได้ไม่นานก็เกิดอาการปวดเมื่อย ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีการคิดค้นเม้าส์ที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยลดอาการเมื่อยล้าจากการทำงานได้เป็นอย่างดีอย่าง เมาส์ไร้สายเพื่อสุขภาพ Vertical Ergonomic Mouse ที่มีรูปทรงรองรับเข้ากันได้อย่างพอดีกับอุ้งมือ พร้อมยังช่วยปรับตำแหน่งของข้อมือให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ไม่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บเมื่อต้องใช้เม้าส์ทำงานเป็นระยะเวลานาน

หักนิ้ว Bewell

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อหักนิ้ว ?

ภายในข้อของกระดูกส่วนต่าง ๆ ของเราจะมีน้ำใส ๆ ที่มีหน้าที่ช่วยหล่อลื่นข้อต่อต่าง ๆ ของกระดูกให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ ไหลลื่น ไม่ฝืดเคืองหรือเกิดการเสียดสีกันระหว่างกระดูก หากเราบิด หรือหักกระดูกนิ้วบ่อย ๆ ก็อาจจะเป็นการเพิ่มช่องว่างระหว่างกระดูกให้เพิ่มมากขึ้นจนส่งผลให้แรงดันอากาศต่ำภายในข้อต่อเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้น้ำใส ๆ ที่หล่อลื่นข้อต่ออยู่ไหลออกไปอยู่ในพื้นที่ช่องว่างนั้นได้นั่นเอง ซึ่งเสียงที่ดังกร็อบแกร็บที่เราได้ยินกันเมื่อหักนิ้วนั้นก็เป็นเสียงที่เกิดจากน้ำหล่อเลี้ยงข้อต่อไหลออกไปสู่พื้นที่ว่างที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ภายในข้อต่ออย่างรวดเร็ว ไม่ได้เป็นเสียงที่เกิดจากกระดูกหรือกล้ามเนื้ออย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ

หักนิ้ว Bewell

แล้วการหักนิ้วจะเป็นอันตรายไหม ?

เล่ามาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนคงเริ่มสงสัยกันว่า แล้วถ้าเราหักนิ้วกันบ่อย ๆ จะเป็นอะไรไหม จะเสี่ยงเป็นอะไรร้ายแรงหรือเปล่า ซึ่งคำตอบก็คือ การหักนิ้วไม่มีความเสี่ยงอะไรที่ส่งผลต่อโรคภัยไข้เจ็บ หรือโรคที่ร้ายแรงถึงชีวิตอะไร แต่การหักนิ้วบ่อย ๆ ก็มีความเสี่ยงที่อาจจะทำให้กระดูกโปนใหญ่ได้ ยิ่งหากเป็นกระดูกของเด็กเล็กที่ยังมีการพัฒนาเจริญเติบโตยังไม่เต็มที่ การหักกระดูกนิ้วอาจทำให้กระดูกเจริญเติบโตผิดปกติ นอกจากจะโปนใหญ่ขึ้นแล้ว อาจทำให้กระดูกผิดรูป บิดเบี้ยว ไม่ได้รูปทรงตามปกติได้นั่นเอง

Slide
ฟรี! ปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ
ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
ตามหลัก Ergonomics

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *