บทความสุขภาพ

ชอบนั่งนาน ระวังเป็น Lower Cross Syndrome !!

ไลฟ์สไตล์ไม่ค่อยขยับตัว เคลื่อนไหวน้อย 1 สาเหตุส่งผลให้เกิด Lower cross syndrome  นั่งทำงานนานๆ ที่ว่าท่านั่งสบายที่สุด แต่ก็ย่อมส่งผลให้เกิดอาการปวดได้เหมือนกัน หากนั่งเป็นระยะเวลานาน วันนี้พาไปรู้จัก Lower cross syndrome จุดเริ่มต้นอาการปวดของคนชอบนั่งนานกันค่ะ

เป็นกลุ่มอาการกล้ามเนื้อขาดความสมดุลย์ในส่วนช่วงล่างของร่างกาย พบกล้ามเนื้อหดสั้นและอ่อนแรง ซึ่งมักจะพบว่าการนั่งนานๆนั้น ทำให้กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ให้การแอ่นหลัง (Back extensor) และ งอสะโพก (Ilipsoas )เกิดการหดสั้น (tightness และในกลุ่มของกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง คือ กล้ามเนื้อหน้าท้อง (rectus abdominis) และ กล้ามเนื้อก้น (Glute) ) ทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ การเคลื่อนไหวของข้อต่อลดลง เกิดแรงกดต่อตัวข้อต่อ และ กระดูกสันหลัง มากขึ้น ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง ปวดข้อต่อ กล้ามเนื้อเกร็ง เรื้อรังตามมาในอนาคต

  • ในท่ายืนมักจะ หลังแอ่น ก้นงอน ท้องยื่น ส่วนมากจะพบในในกลุ่มที่ต้องนั่งทำงานนานๆ ไม่ค่อยได้ขยับร่างกาย มีภาวะอ้วนลงพุง ตั้งครรภ์ หรือ ยกของหนัก เป็นประจำ
lower cross syndrome

หากลองเช็คแล้วว่านั่งทำงานนาน และ ขณะยืนพบหลังหลังแอ่น ก้นงอน สามารถยืดกล้ามเนื้อเพื่อป้องกันอาการปวดที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

ท่าที่ 1  : ฺBridging

ท่าเริ่มต้น : นอนหงาย และ ชันเข่าขึ้นทั้ง 2 ข้าง (หายใจเข้า)

ค่อยๆยกก้นขึ้น โดยน้ำหนักจะลงที่เท้าและไหล่ทั้ง 2 ข้าง  (หายใจออก)

จะรู้สึกเมื่อยๆบริเวณก้น และ ไม่มีอาการปวดหลังเพิ่มขึ้น

10-15 ครั้ง-set , 3-4 sets/วัน

ท่าที่ 2 : Iliopaoas Stretching

ท่าเริ่มต้น : ยืนตัวตรง (หายใจเข้า)

ก้าวขาขวาออกมาด้านหน้า ค่อยงอเข่าขวาลง (หายใจออก)

จะรู้สึกตึงบริเวณด้านหน้าสะโพกของขาข้างซ้าย

ค้างไว้ 10-15 วินาที/ครั้ง สามารถทำได้บ่อยตามที่ต้องการ

ท่าที่ 3 : Dead Bug

ท่าเริ่มต้น : นอนหงายงอเข่า งอสะโพก 90 องศา ยกแขนขึ้นตรงตั้งฉากกับพื้น (หายใจเข้า)

งอสะโพกข้างซ้ายเข้าหาลำตัว และ นำมือขวาแตะเข่าซ้าย (หายใจออก)

จะเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อหน้าท้อง

10-15 ครั้ง/sets ,  3-4 sets/วัน

ไม่อยากนั่งนานแต่ไม่สามารถละจากหน้าจอได้ แต่ก็ไม่อยากให้เกิดอาการปวดในอนาคต แนะนำ item ที่สร้างมาปรับการทำงานนานๆ และได้ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ เปลี่ยนบรรยากาศ ไปในตัว นั่งหรือยืน ก็ยังสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องไม่สะดุด ปรับความสูงให้เหมาะกับแต่ละบุคคล และสามารถ custom สินค้าให้ตรงกับความต้องการได้เลย

Slide
ฟรี! ปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ
ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
ตามหลัก Ergonomics

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *