บทความสุขภาพ

3 วิธีดูแลหลังออกกำลังกายแล้วปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ (DOMS)

หลังออกกำลังกาย

หลังออกกำลังกายเสร็จแล้วไม่รู้จำอย่างไรดี วันนี้มีวิธีแก้อาการปวดเมื่อยหลังออกกำลังกาย ที่มีชื่อเล่นว่า  DOMS ย่อมาจาก Delay onset muscle soreness หรือ เรารู้จักกันในอาการปวดเมื่อยหลังออกกำลังกาย จริงๆแล้วอาการนี้เป็นสัญญาณที่ดีของการออกกำลังกายก็ว่าได้ เพราะ ได้ใช้กล้ามเนื้อที่ต้องการ เรียกได้ว่า อยากมีsix packs แล้ว sit up วันถัดมาปวดเมื่อยหน้าท้อง ก็ถูกจุด โดนมัดกล้ามเนื้อที่อยากได้เลยทีเดียว แต่จริงๆแล้วมันคือการสะสมของเสียในกล้ามเนื้อเช่นกัน ทุกๆการออกกำลังกายมักเป็นเรื่องดี และ มีอนุมูลอิสระเกิดขึ้น ของเสียต่างๆ สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อเช่นกัน โดยปกติแล้วจะมีช่วงพีคที่มีอาการปวดเมื่อยมากๆอยู่ที่ 24-72 ชั่วโมงหลังออกกำลังกาย และอาจจะหายได้เองฟื้นฟูได้เองภายใน 3-5 วันแล้วแต่ร่างกายของแต่ละบุคคล ผ่านการไหลเวียนโลหิตในร่างกายของเรา

นวด (massage)

นวดสปอร์ต

เป็นวิธียอดฮิตกันมาอย่างยาวนาน การนวดจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต เพื่อให้ของเสียที่เกิดขึ้นที่ทำให้เราปวดเมื่อย ถูกกำจัดไป แถมยังเพิ่มความผ่อนคลาย ลดการติดของข้อต่อ ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้ออีกด้วย

เสื้อผ้ากระชับกล้ามเนื้อ (compression garment)

การออกกำลังกาย หรือ กีฬาบางชนิด ก็จะมีชุดสำหรับกีฬานั้นๆ เคยสงสัยว่าใส่ทำไม มาไขคำตอบไปพร้อมกัน การใส่เสื้อผ้ากระชับกล้ามเนื้อที่เห็นได้ชัดคือความคล่องตัวในการเคลื่อนไหว  และ ชะลอการเกิดของเสียที่จะมาสะสมอยู่ที่กล้ามเนื้อ เมื่อเทียบกับไม่ได้ใส่ อาการปวดเมื่อยจะน้อยกว่าแน่นอน

แช่น้ำเย็น (cold-water immersion)

จะไปขัดขวางการนำความเร็วของกระแสประสาทการปวด จะรู้สึดปวดลดลง ลดการเผาผลาญของกล้ามเนื้อ ลดอาการล้า ลดอาการอักเสบ สามารถแช่ได้ทั้งตัว หรือ แช่เป็นบางส่วนของร่างกาย ได้ทั้ง 2 แบบ

สุดท้ายแล้วอย่าลืมวางแผนการออกกำลังกาย ความหนักเบา ความถี่ในแต่ละสัปดาห์ มีช่วงพักให้ร่างกายรักษาตนเอง ร่วมกับวีธีด้านบน ก็จะช่วยให้อาการ DOMS หายเร็ว ฟื้นฟูได้เร็วยิ่งขึ้น

โฟมคลายกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่น ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ สำหรับใครที่ออกกำลังกายแล้วมีอาการกล้ามเนื้อตึง เสี่ยงว่าจะมีอาการ DOMS ตามมา อีกหนึ่งตัวช่วยที่สายออกกำลังกายต้องมีไว้ติดบ้าน ใช้ง่าย และ สะดวกมากๆ ปรับความหนัก-เบาได้ตามต้องการ และ ยังสามารถใช้น้ำหนักตนเองเพื่อเพิ่ม-ลดความหนักเบาในการคลายได้อีกด้วย

Slide
ฟรี! ปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ
ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
ตามหลัก Ergonomics

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *