บทความสุขภาพ

ปวด(หลัง)ตรงไหน เอาปากกามาวง

เอาปากกามาวง bewell

ไม่ว่าจะทำงานที่ไหนก็หลีกหนีอาการปวดหลังไม่ได้สักที พอได้ทำงานที่บ้านอาการปวดหลังยิ่งทวีคูณเพิ่มมากขึ้น หาตำแหน่งการปวดแถบจะไม่ได้ เพราะปวดไปทั่ว ๆ ยิ่งนั่งนานจะลุกที่ก็โอ้ย จะนั่งก็โอ้ย หาเวลาออกไปพบนักกายภาพหรือหาหมอในช่วงเวลานี้ก็ดูจะไม่ใช่เรื่องง่าย ลองมาเช็คร่างกายตัวเองง่าย ๆ ว่าปวดตรงไหน แล้วลองมายืดกล้ามเนื้อในตำแหน่งนั้นกันเถอะ เตรียม “เอาปากกามาวง” ตำแหน่งที่ปวดกันได้เลย 

ปวดหลังตรงไหน มาหาตำแหน่งกัน 

ต้องเกริ่นเกินว่า อาการปวดหลัง เป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อยในทุกกลุ่มวัยเลยก็ว่าได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเรียน นักศึกษา วัยทำงาน หรือแม้แต่ผู้สูงอายุ ก็สามารถปวดหลังได้เช่นกัน ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ก็มาจากการใช้งานกล้ามเนื้อหลังที่มากเกินไป หรือเกิดจากการใช้งานผิดท่า หรืออยู่ในท่าเดิมซ้ำ ๆ เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมเป็นเวลานาน การยกของหนัก การสะพายกระเป๋าเป้หนัก ๆ หรือการเปลี่ยนท่าทางที่กะทันหัน ล้วนส่งผลต่ออาการปวดหลังได้ทั้งนั้น ซึ่งตำแหน่งของการปวดหลังก็สามารถแบ่งได้ง่าย ๆ เป็น 3 ตำแหน่งตามแนวกระดูกสันหลัง ดังนี้

เอาปากกามาวง bewell

1. ปวดหลังส่วนบน

ปวดหลังส่วนบน : อยู่บริเวณแนวกระดูกสันหลังคอ และเหนือกระดูกสะบัก เป็นตำแหน่งที่พนักงานออฟฟิศมีอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า มากที่สุด อาการปวดที่เกิดขึ้นมีทั้งปวดบ่าข้างใดข้างหนึ่ง ปวดร้าวขึ้นศีรษะ ปวดร้าวลงแขน ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บสะสมของกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดจากท่านั่งที่ไม่ถูกต้อง เช่น บ่า ไหล่ เกร็งยกตลอดเวลา อาจมาจากการจัดท่านั่งไม่ถูกต้อง หรือ เก้าอี้ โต๊ะ ไม่เหมาะสมกับการนั่งทำงาน ทำให้ต้องการนั่งทำงานต้องทรงท่าที่ผิดตลอดเวลา และมาจากความเครียดในการทำงานได้เช่นเดียวกัน

อาการปวดกล้ามเนื้อในตำแหน่งนี้ สามารถยืดกล้ามเนื้อได้เองได้ง่าย ๆ โดยจะเน้นการยืดกล้ามเนื้อคอ บ่า ให้เกิดการคลายตัว ด้วย 3 ท่า ง่าย ๆ ที่นี่เลย >> 3 ท่า “ยืดกล้ามเนื้อคอ” จากการนั่งทำงาน

2. ปวดหลัวส่วนกลาง

ปวดหลังส่วนกลาง : เป็นบริเวณที่หากมีพฤติกรรมไม่ถูกท่า อย่างเช่น นั่งหลังค่อม ไหล่ห่อ การเอี้ยวตัวผิดองศา หรือ การยกของหนัก เป็นต้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อหลัง เส้นเอ็นและกระดูกสันหลังส่วนอกมีโครงสร้างที่ถูกยืดออกและผิดไปจากปกติได้ อย่างที่เห็นได้ชัด ๆ คือ อาการหลังค่อม ไหล่ห่อ ซึ่งอาจจะไม่ได้มีอาการปวดบริเวณหลังส่วนกลางมาก แต่สามารถส่งผลไปที่หลังส่วนบน และหลังส่วนล่างตามมาได้นั่นเอง 

3. ปวดหลังส่วนล่าง

ปวดหลังส่วนล่าง : เป็นบริเวณที่มีอาการปวดมากที่สุดของทุกกลุ่มวัย เพราะส่วนกระดูกสันหลังส่วนเอวที่ระดับ L4- 5 เป็นส่วนที่รองรับน้ำหนักของน้ำหนักร่างกายที่กดทับลงมามากที่สุด โดยพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวดได้ก็คือ การยืนนานเกินไป หรือ นั่งผิดท่า เช่น นั่งตัวไถ นั่งไขว่ห้าง นั่งหลังค่อม ไหล่ห่อ คอยื่น ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ทำให้หลังของเราพังได้ง่ายขึ้นนั่นเอง 

ไม่อยากปวดหลัง ต้องปรับพฤติกรรม 

อาการปวดหลังเป็นอาการที่เกิดจากพฤติกรรมเป็นหลัก หากเราปรับแก้พฤติกรรมได้ก็สามารถช่วยลดและป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ง่ายที่สุดก็คือ การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การนั่งหลังค่อม นั่งตัวไถ ไขว่ห้าง หรือนั่งเท้าลอย ซึ่งถ้านั่งท่าเหล่านี้เป็นเวลานาน ๆ ก็ทำให้เกิดอาการปวดตามร่างกายได้ นอกจากการปรับท่านั่งและพฤติกรรมแล้วก็ควรดูสภาพแวดล้อมร่วมด้วย เช่น เก้าอี้ โต๊ะทำงาน ว่าเหมาะสมกับการใช้งานหรือไม่ หากอุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสมก็ยิ่งส่งผลต่อการทำงานที่อาจไม่ได้ประสิทธิภาพ และยังทำให้ร่างกายอ่อนล้าจากการทำงานได้อีกด้วย 

 

ปรับท่านั่งให้ตรงตามสรีรศาสตร์ เพิ่มเติมได้ที่ : เลือกเก้าอี้และโต๊ะสำหรับทำงานอย่างไรให้เหมาะกับสรีระ

อุปกรณ์(ไม่)ลับ สำหรับชาวออฟฟิศ 

 จะนั่งทำงานทั้งวันโดยไม่มีตัวช่วยดี ๆ ได้อย่างไร เพราะสุขภาพจะดีได้ก็ต้องมีอะไรมาซัพพอร์ตร่างกายกันซะหน่อย ด้วย เก้าอี้ Ergonomics และ โต๊ะปรับระดับได้ ใช้คู่กันแล้วอาการปวดหลังที่เคยสัมผัสจะค่อย ๆ จางหายไปอย่างแน่นอน เพราะอุปกรณ์ที่ดีก็จะช่วยโอบอุ้มร่างกายขณะนั่งทำงาน และลดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ได้อีกด้วย แบบนี้ต้องรีบ “เอาปากกามาวง” อุปกรณ์ที่ต้องการกันได้แล้วน้า 

Slide
ฟรี! ปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ
ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
ตามหลัก Ergonomics

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *