บทความสุขภาพ

3 ท่า ลดอาการ เวียนหัว บ้านหมุน ทำเองได้ที่บ้าน

เวียนหัว บ้านหมุน หูชั้นใน bppv

อาการ เวียนหัว บ้านหมุน เป็นหนึ่งในอาการของโรคเกี่ยวกับหูชั้นใน หรือ โรคเกี่ยวกับสมองได้ ในบางคนอาจจะเป็นอาการที่เป็นจนเคยชิน แต่ในบางคนเป็นแค่ครั้งเดียวก็เข็ดแล้วก็มี รู้สึกโคลงเคลเหมือนอยู่บนเรือ มองเห็นภาพไหลช้าๆ เป็นตอนตื่นนอน เป็นตอนเปลี่ยนท่าเร็วๆ ปล่อยไว้ให้หายเองได้ไหม เป็นอาการของไมเกรนหรือเปล่า อันตรายแค่ไหน วันนี้พาไปรู้จักอาการเวียนหัวบ้านหมุนกันนะคะ

เวียนหัว บ้านหมุน เป็นอาการแสดงของความผิดปกติของระบบการทรงตัว (Vestibular system) ที่คอยควบคุมในขณะที่เราเคลื่อนไหว ให้สมดุล ไม่ล้ม และเคลื่อนไหวได้อย่างราบรื่น ภายในหูชั้นใน (labyrinth) มีอวัยวะควบคุมเกี่ยวกับการทรงตัว 4 โครงสร้าง utricle, saccule, semicircular canal และการได้ยิน (cochlea)    ในอวัยวะควบคุมเกี่ยวกับการทรงตัว utricleมีตะกอนหินปูน (otoconia) ที่เคลื่อนไปมาโดยไม่หลุด ซึ่งเมื่อระบบการทรงตัวถูกรบกวนจึงทำให้การเคลื่อนไหวไม่ราบรื่นนั่นเอง โรคที่พบได้บ่อยๆ คือ 

  • โรคตะกอนหินปูนใน หูชั้นใน หลุด (Benign Paroxysmal Positional Vertigo- BPPV)

 ใน หูชั้นใน ของเราจะมีตะกอนหินปูนที่เป็นส่วนในการรับรู้การเคลื่อนไหวของศรีษะ เมื่อตะกอนหลุดจึงทำให้เราสูญเสียการรับรู้การเคลื่อนไหวของศรีษะ และ กระตุ้นให้เกิดอาการ เวียนหัว บ้านหมุนได้ โดยอาการจะเกิดได้หลายครั้งต่อวัน แต่ในแต่ละครั้ง อาการจะเป็นไม่นาน 30 วินาที – 1 นาที  และ ไม่หนักเท่าครั้งแรก แต่ถ้าเคลื่อนไหวศรีษะในท่าเดิมอีก อาการก็จะกลับมาได้ โดยที่ผู้ป่วย โรค BPPV จะไม่มีอาการหูอื้อ เสียงดังในหู หรือ แขนขา ชา อ่อนแรง พูดไม่ชัด หรือ เป็นลมหมดสติร่วมด้วย 

  • ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคตะกอนหินปูนใน หูชั้นใน หลุด

     

  • อุบัติเหตุ 
  • บาดเจ็บบริเวณศีรษะ 
  • ความเสื่อม ในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี แทบจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอาการ เวียนหัว บ้านหมุนได้

  • อาการของโรคตะกอนหินปูนใน หูชั้นใน หลุด
  • เวียนหัว บ้านหมุน 
  • โคลงเคลง 
  • เสียการทรงตัว 
  • คลื่นไส้ อาเจียร
  • ตากระตุก  

เมื่อมีการเคลื่อนไหวของศีรษะโดยเฉพาะในแนวดิ่งอย่างรวดเร็ว เช่น ล้มตัวลงนอน หรือลุกจากที่นอน ก้มหยิบของ หรือเงยหน้ามองที่สูง ก้มหน้ามองที่ต่ำ เอียงคอ

  • การรักษา

  • ยาบรรเทาอาการเวียนศรีษะ 
  • ทำกายภาพบำบัด 
  • ผ่าตัด
ส่วนใหญ่แล้วอาการจะดีขึ้นในการทำกายภาพบำบัด 1-2 ครั้ง เพื่อให้ตะกอนกลับเข้าไปในโครงสร้างของ หูชั้นใน แต่สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก วันนี้มีท่าออกกำลังกายมาฝากกันค่ะ 

ท่าเริ่มต้น : นั่งห้อยขาข้างเตียง 2 ข้าง

หลังจากนั้นล้มตัวลงนอนตะแคงด้านใดด้านหนึ่ง หมุนศรีษะให้จมูกชี้ขึ้น 45 องศา ค้างไว้ 30 วินาที หรือ จนกว่าจะหายเวียนหัว

เมื่อครบ 30 วินาที หรือ อาการเวียนหัวหายแล้ว ให้ลุกขึ้นมานั่งหน้าตรงเหมือนท่าเริ่มต้น และ ทำอีกรอบในฝั่งตรงข้าม นับเป็น 1 ครั้ง

ทำ 3-5 ครั้ง/รอบ  3รอบ/วัน

  • ท่าที่ 2 กรอกลูกตาทางซ้าย-ขวา 

ท่าเริ่มต้น : นั่งตัวตรง หน้าตรง มองตรง
หลังจากนั้นค่อยๆกรอกลูกตาช้าๆ ไปทางซ้าย และ ขวา โดยที่ไม่หันศีรษะตามไป อยู่ในท่าเริ่มเหมือนเดิม
เริ่มจากช้าๆและค่อยเพิ่มความเร็ว
15-20 ครั้ง/รอบ 4-5รอบ/วัน
  • ท่าที่ 3 : กรอกลูกตา ขึ้น-ลง 

ท่าเริ่มต้น : นั่งตัวตรง หน้าตรง มองตรง
หลังจากนั้นค่อยๆกรอกลูกตาช้าๆ ไปทางซ้าย และ ขวา โดยที่ไม่หันศีรษะตามไป อยู่ในท่าเริ่มเหมือนเดิม
เริ่มจากช้าๆและค่อยเพิ่มความเร็ว
15-20 ครั้ง/รอบ 4-5รอบ/วัน
การดูแลตนเองเบื้องต้น
  • หากเริ่มมีอาการเวียนหัวบ้านหมุน ให้รีบนั่งลง หรือ นอนราบ
  • ในตอนตื่นนอน ควรค่อยๆลุก ค่อยๆเคลื่อนไหว ไม่ควรเคลื่อนไหวตัวเร็ว
  • หลีกเลี่ยงการนอนตะแคงในฝั่งที่กระตุ้นอาการลง
  • ควรออกกำลังกายในชนิดที่มีการเคลื่อนไหวของศีรษะน้อยที่สุด
  • ขณะไปพบทันตแพทย์ หรือ นอนเตียงสระผม อาจจะเป็นการกระตุ้นอาการได้
Slide
ฟรี! ปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ
ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
ตามหลัก Ergonomics

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *