บทความสุขภาพ

5 สาเหตุ การเกิดตะคริวของชาวออฟฟิศ

ตะคริว Bewell

เคยเป็นกันบ้างหรือเปล่า นั่งทำงานอยู่ดีๆ ก็รู้สึกถึงความผิดปกติที่กล้ามเนื้อขา ใช่แล้วล่ตะคริวนั่นเองที่ตามมาหลอกหลอน ทำให้รู้สึกปวดเกร็งบริเวณกล้ามเนื้อ กว่าจะจัดการให้กล้ามเนื้อรู้สึกผ่อนคลายหรือหายจากการเป็นตะคริวได้ ก็เล่นเอาหลายคนเจ็บปวดทรมานอยู่นาน ใครที่เกิดอาการแบบนี้บ่อยๆ วันนี้ตามเราไปเช็คกันดูสิว่า เป็นเพราะสาเหตุอะไร แล้วเราทำแบบนั้นบ่อยๆหรือไม่ 

มารู้จักอาการ “ตะคริว” กันหน่อย

ตะคริว  หรือ อาการ Muscle Cramps เป็นอาการปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ ซึ่งเกิดจากการหดเกร็งที่ทำให้มีอาการปวดและกล้ามเนื้อเป็นก้อนแข็ง  ซึ่งมักจะเกิดขึ้นแบบฉับพลันทันที เราไม่สามารถรู้ตัวได้ล่วงหน้าว่ากำลังจะเป็นตะคริว และที่สำคัญเราไม่สามารถบังคับกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ ได้ อาการตะคริวนั้น เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อส่วนใดของร่างกายก็ได้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะเกิดเพียงชั่วขณะ และสามารถทุเลาลงไปได้เอง แต่อย่างไรก็ตาม เราพบว่ากล้ามเนื้อที่เกิดตะคริวบ่อยที่สุดก็คือ ‘กล้ามเนื้อน่อง’ และที่รองลงมาก็คือกล้ามเนื้อต้นขา ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง รวมทั้ง กล้ามเนื้อเท้าและกล้ามเนื้อหลังก็สามารถเกิดอาการตะคริวได้ บ่อยๆ เช่นกัน  

5 สาเหตุ การเกิดตะคริวของชาวออฟฟิศ

แม้ว่าโดยส่วนใหญ่แล้ว ‘ตะคริว’ มักพบได้บ่อยในวัยกลางคนและผู้สูงอายุ แต่ก็ไม่แน่เสมอไปหรอกนะ เดี๋ยวนี้หนุ่มสาวชาวออฟฟิศ ก็เป็นอีกกลุ่มที่มีอาการตะคริวได้บ่อยๆ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปนั่นเอง ตามไปดูกันสิว่า มีอะไรเป็นสาเหตุสำคัญให้เกิดตะคริวกันได้บ้าง 

ตะคริว Bewell
  • ดื่มน้ำน้อย 

ดื่มน้ำน้อยทำให้เป็นตะคริวได้ด้วยเหรอ คำตอบ คือใช่ เพราะน้ำเป็นส่วนหนึ่งของมวลร่างกาย โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต่างๆของมนุษย์เรานั้น  เมื่อเราดื่มน้ำน้อยทำให้มวลกล้ามเนื้อขาดน้ำ กล้ามเนื้อก็จะหดเกร็งได้ง่ายนั่นเอง 

  • มีภาวะเกลือแร่ ในเลือดต่ำ

ร่างกายต้องใช้เกลือแร่ในการทำงาน เกลือแร่ที่สำคัญที่กล้ามเนื้อต้องใช้ก็เช่น เกลือแร่ชนิดแคลเซียม โซเดียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม หากร่างกายเสียสมดุล หรือมีภาวะที่ทำให้ร่างกายสูญเสียเกลือแร่อย่างรุนแรง เช่น มีอาการป่วยจากท้องร่วงอาเจียน เสียเหงื่อจากการเล่นกีฬา หรือทำงานหนักมากจนเกินไป ก็เป็นการกระตุ้นให้เกิดภาวะหดเกร็งของกล้ามเนื้อ หรือตะคริวได้ง่าย

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ใครๆก็ทราบดีว่า การดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพนัก และสำหรับผู้ที่มีอาการตะคริวถามหา บอกไว้เลยว่าคุณควรจะลดหรืองดการดื่มได้แล้วล่ะ เพราะการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ร่างกายเกิดการขับน้ำออกทางปัสสาวะมากขึ้น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ร่างกายและกล้ามเนื้อขาดน้ำจึงเป็นตะคริวได้ง่ายยังไงล่ะ 

  • นั่งในท่าเดิมนานๆ 

การนั่งในท่าเดิมนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดเกร็ง ยิ่งถ้าเป็นการนั่งในท่าที่ไม่ถูกต้อง เช่นนั่งทับขา นั่งทับกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ยิ่งเป็นสาเหตุให้เกิดอาการตะคริวได้ง่ายๆ สังเกตุดูเวลาที่เราต้องนั่งไหว้พระหรืออยู่พิธีต่างๆ นานๆ สิ ไม่รอดจากตะคริวสักราย 

  • อาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ 

โดยปกติแล้ว กล้ามเนื้อทุกมัดของมนุษย์เกร็งและคลายตลอดทั้งวัน แต่การเกร็งมากจนเกินไปจนกล้ามเนื้อทำงานถึง 100% และไม่คลายตัวแบบนี้จึงเรียกว่าเป็นตะคริว ดังนั้น การที่กล้ามเนื้อถูกใช้งานแบบผิดวิธี ไม่มีความยืดหยุ่น มีอาการบาดเจ็บแบบเรื้อรัง เช่น อาการออฟฟิศซินโดรมต่างๆ ก็เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการตะคริวได้ง่าย ดังนั้นชาวออฟฟิศที่ไม่อยากเป็นตะคริวบ่อยๆ ต้องหมั่นบริหารกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอด้วยนะ 

สำหรับชาวออฟฟิศ ที่ไม่อยากเป็นตะคริวบ่อยๆ Bewell ขอชวนมาบริหารร่างกาย หนีอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อและหนีตะคริว ด้วย Bewell Flexi Tube / ยางยืดบริหารกล้ามเนื้อ และ Bewell Perfect Tube / ยางยืดออกกำลังกายแบบมีห่วงจับ  2 ไอเท็มจิ๋วแต่แจ๋วที่ช่วยให้ชาวออฟฟิศยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ลดอาการ office syndrome และลดความเสี่ยงในการเป็นตะคริวได้ดี อุปกรณ์เหล่านี้มาในขนาดเล็กพกพาไปใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา  ยืดหยุ่นสูง แข็งแรง ทนทาน ช่วยให้ ชาวออฟฟิศออกกำลังกายแบบเบาๆ หรือยืดเหยียดเปลี่ยนอิริยาบถต่างๆ ได้สะดวกในทุกที่ ใช้ก่อนออกกำลังกายก็ลดอาการบาดเจ็บได้ดี  ถือเป็นไอเท็มที่มีติดบ้าน ติดออฟฟิศไว้ ช่วยให้ชาวออฟฟิสห่างไกลจากตะคริว และอาการ office syndrome แน่นอน 

Special Deal

สำหรับผู้ที่อ่านบทความนี้เพียงใส่โค้ด BWTUBE30 ลดเพิ่มทันที 30.- เมื่อซื้อ Perfect Tube และ Flexitube

ยางยืดออกกำลังกาย แบบมีห่วงจับ | Perfect Tube

159.00 ฿
สีชมพู แรงต้าน 2 kg
สีดำ แรงต้าน 6 kg
สีเขียว แรงต้าน 4 kg

ยางยืดบริหารกล้ามเนื้อ | Flexi Tube

159.00 ฿
สีชมพู แรงต้าน 1 kg
สีดำ แรงต้าน 5 kg
สีเขียว แรงต้าน 3 kg
Slide
ฟรี! ปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ
ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
ตามหลัก Ergonomics

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *