บทความสุขภาพ

จริงหรือไม่ ? ‘รองช้ำ เกิดจาก’ การเดินที่มากเกินไป

รองช้ำ เกิดจาก Bewell

เมื่อเป็นพนักงานออฟฟิศแต่ไม่ได้ทำงานแค่นั่งโต๊ะเพียงอย่างเดียว บางตำแหน่งก็ต้องมีการเดินประสานงานแทบทั้งวัน หรือบางอาชีพก็ต้องยืนทำงานวันหนึ่งหลายชั่วโมง ซึ่งการยืนหรือเดินเยอะอาจะส่งผลต่อโครงสร้างของข้อเท้าและเท้าทำให้มีอาการปวดตามมาได้ นอกจากนี้อาการปวดที่เกิดขึ้นอาจมาจากรองเท้าที่สวมใส่ไม่เหมาะสม เช่น คับเกินไป หรือหลวมเกินไป ทำให้การใช้งานเท้าเกิดปัญหาได้ ซึ่งโรคหนึ่งที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ กับเท้าของคนวัยทำงานเลยก็คือ “รองช้ำ” (Plantar fasciitis) นั่นเอง 

รองช้ำหน้าตาเป็นอย่างไร

รองช้ำ เกิดจาก Bewell

‘รองช้ำ เกิดจาก’ พังผืดใต้ฝ่าเท้าที่ทำหน้าที่รองรับแรงกระแทกขณะที่ฝ่าเท้าลงน้ำหนักตอนเดิน วิ่ง หรือกระโดด ทำงานมากเกินไป และได้รับแรงกระแทกต่อพังผืดใต้ฝ่าเท้าเป็นประจำ ซ้ำ ๆ ทำให้เกิดการอักเสบที่พังผืดใต้ฝ่าเท้าได้นั้นเอง ซึ่งยิ่งเราใช้งานฝ่าเท้ามากเท่าไหร่ก็จะส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บสะสมใต้ฝ่าเท้าเพิ่มมากขึ้นได้ โดยบริเวณจุดที่จะปวดคือ บริเวณส้นเท้า ซึ่งจะเกิดอาการตอนตื่นนอนทุกเช้าเวลาเท้าเหยียบลงพื้นก้าวแรกจะรู้สึกปวดแปล๊บ เหมือนมีอะไรมาทิ่มเท้า และเมื่อเดินไป 2- 3 ก้าว อาการปวดจะค่อย ๆ ลดลง ซึ่งอาการดังกล่าวนี้เป็นโรคที่พบมากสุดเมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ด้วยอาการปวดส้นเท้า 

กลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดโรครองช้ำได้

รองช้ำ เกิดจาก Bewell
  1. คนที่มีน้ำหนักเกิน 
  2. มุมกระดกข้อเท้าจำกัดและมีการหดสั้นของกล้ามเนื้อน่อง 
  3. มีช่วงอายุประมาณ 45 ปีขึ้นไป 
  4. กลุ่มคนที่มีปัญหาเรื่องเท้าแบนหรืออุ้งเท้าสูงเกินไป 
  5. คนที่ทำงานยืนนาน เดินนาน และเกิดกระแทกที่ส้นเท้าบ่อย ๆ ได้
  6. คนที่ใส่รองเท้าพื้นแข็ง ก็อาจจะทำให้เกิดแรงกระแทกที่ส้นเท้าบ่อย ๆ ได้
  7. คนที่ใส่รองเท้าส้นสูง หรือคัชชู เป็นประจำ อาจทำให้เกิดการยืดของพังผืดนานเกินไปและทำให้เกิดการบาดเจ็บได้  

วิธีการดูแล และการออกกำลังกาย

รองช้ำ เกิดจาก Bewell
  1. การพัก และลดการเดิน วิ่งให้น้อยลง หรือแบ่งเวลาให้กล้ามเนื้อเท้าได้พักมากขึ้น เช่น ปกติต้องเดินทำงานทั้งวัน ก็อาจจะแบ่งให้เดินน้อยลงพักเท้าให้มากขึ้น ร่วมกับการหลีกเลี่ยงการกระแทกเท้า เช่น กระโดด หรือออกกำลังกายที่กระแทกส้นเท้า
  2. การประคบร้อน หรือแช่น้ำอุ่น จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อและพังผืดใต้ฝ่าเท้าคลายตัว และกล้ามเนื้อเกิดการไหลเวียนเลือดดีขึ้น โดยจะประคบร้อน หรือแช่น้ำอุ่นประมาณ 15-20 นาที 
  3. การทานยาแก้ปวด หรือยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ 
  4. หลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่า ควรสวมรองเท้าที่เหมาะสมกับเท้าไม่คับหรือหลวมเกินไป และที่สำคัญพื้นรองเท้าไม่ควรแข็งเกินไป เพราะจะยิ่งทำให้เท้าได้รับแรงกระแทกขณะเดินได้ 
  5. การยืดและการออกกำลังกายเท้า จะเป็นการช่วยยืดกล้ามเนื้อและพังผิดให้เกิดความยืดหยุ่น และเพิ่มความแข็งแรงให้กับฝ่าเท้า  

อ่านเพิ่มเติมการออกกำลังกายที่ : https://www.bewellstyle.com/blog/feet-exercise-for-office-worker/

 

       6. การรักษาด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัด เช่น เครื่องมืออัลตร้าซาวด์ จะช่วยลดการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้า หรือเครื่องมือคลื่นกระแทก หรือ Shockwave เป็นอีกเครื่องมือที่ใช้รักษาอาการปวดเรื้อรังที่ฝ่าเท้าได้

รองช้ำ อาการที่หากละเลยก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้อย่างมาก อาจทำให้เกิดอาการปวดเข่า ปวดหลังได้เลย แต่ถ้าหากเรารู้ว่าอาจเป็นรองช้ำก็สามารถรีบไปรักษาและหาอุปกรณ์เสริมที่สามารถช่วยลดและบรรเทาอาการรองช้ำนี้ได้อย่างแน่นอน

อย่าปล่อยให้รองช้ำมาทำลายการเดินของเรา 

สิ่งหนึ่งที่จะช่วยลดอาการปวดฝ่าเท้าได้ คือ การออกกำลังกายนั่นเอง ซึ่งท่าที่ออกกำลังกายก็ง่ายแสนง่าย เพียงมียางยืดออกกำลังกายสามารถเพิ่มความแข็งแรงให้กับฝ่าเท้าได้แล้ว ด้วยยางยืดออกกำลังกายสามารถใช้ยืดกล้ามเนื้อน่องได้ด้วย มียางเพียงเส้นเดียวแต่ก็สามารถออกกำลังกายได้หลากหลายกว่าที่คุณคิด 

Slide
ฟรี! ปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ
ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
ตามหลัก Ergonomics

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *