Bewell App - Health Tips, บทความสุขภาพ

ทำไม”โรคออฟฟิศซินโดรม” ไม่หายขาด ?

โรคออฟฟิศซินโดรม bewell

ทำไม ‘โรคออฟฟิศซินโดรม’ ไม่หายขาด ? เชื่อว่าหลายคนต้องเคยตั้งคำถามนี้กับตัวเองว่าอาการปวดคอบ่า ทำไมไม่หายไปสักที ไปหาหมอนวดก็ดีขึ้นทีหนึ่ง หรือไปทำกายภาพก็ดีขึ้นช่วงหนึ่ง สุดท้ายก็กลับมาเป็นแบบเดิมอีก วนไปแบบนี้ หาจุดจบของเรื่องนี้ไม่ได้เลย แต่วันนี้ แอมป์ในฐานะนักกายภาพบำบัด อยากจะมาเล่าให้ฟังถึง 5 เหตุผลที่บอกลาโรคออฟฟิศซินโดรมไม่ได้ 

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “ออฟฟิศซินโดรม” กันก่อน ในทางการแพทย์โรคออฟฟิศซินโดรมที่ทุกคนรู้จักจะมีชื่อเรียกว่า Work-related Musculoskeletal Disorders : WMSDsเป็นภาวะที่เกิดจากการใช้งานซ้ำ ๆ ของเอ็น กล้ามเนื้อ ในลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกต้องเป็นประจำ เช่น การนั่งทำงานในท่าหลังค่อม ไหล่ห่อ หรือลักษณะการวางแขนและมือทำให้บ่าไหล่เกร็งยก เป็นต้น ซึ่งลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกเหล่านี้เมื่อทำซ้ำ ๆ จึงส่งผลทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บ หรือเป็นอาการปวดคอ บ่า และหลังแบบที่ทุกคนเป็นกันอยู่นั่นเอง 

แล้ว 5 เหตุผลที่ทำไมเราถึงยังกลับมาเป็นโรคนี้ซ้ำ ๆ ได้ละ มาเริ่มกันที่ข้อแรกเลยค่ะ 

โรคออฟฟิศซินโดรม bewell

1. ลักษณะงานที่ทำ

โรคออฟฟิศซินโดรม bewell

ลักษณะงานที่ทำ เช่น สายกราฟิก ตัดต่อ พนักงานบัญชี ประชาสัมพันธ์ ไอที เทรดหุ้น ขายของออนไลน์ งานที่แอมป์กำลังพูดถึงเหล่านี้ส่วนใหญ่จะนั่งอยู่หน้าคอมซึ่งจะนั่งอยู่คอมไม่ต่ำกว่าวันละ 8 ชั่วโมงเลยทีเดียว ยิ่งช่วงไหนงานหนักไม่ต้องพูดถึงเลย แถบไม่ได้ลุกไปไหน ซึ่งพฤติกรรมของงานเหล่านี้ก็ทำให้กล้ามเนื้อเกิดความตึงตัวได้ พอไม่ได้ขยับนาน ๆ ก็เลยแสดงออกด้วยอาการปวดคอ บ่า หรือมากเข้าก็ปวดร้าวขึ้นศีรษะ ไม่ก็ลงแขนเลยก็ว่าได้ 

2. พฤติกรรมท่านั่งทำงาน

ออฟฟิศซินโดรม bewell

พฤติกรรมท่านั่งทำงาน เป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่ออาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เพราะเมื่อท่านั่งที่ไม่ถูกต้องก็ยิ่งส่งเสริมให้กระตุ้นการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้อย่างง่าย ท่าที่ทุกคนชอบนั่งกันเลยก็คือ ท่านั่งหลังค่อม คอยื่น ซึ่งต้องบอกว่าเป็นท่าที่เบสิคมาก ๆ เนื่องจากการวางโน๊ตบุ๊คหรือว่าคอมของทุกคนมักจะไม่ได้ระดับ ทำให้ต้องคอยก้มคอ หรือยื่นหน้าเข้าไปใกล้จอ ซึ่งท่านี้จะทำให้น้ำหนักที่ตกลงศีรษะรับโหลดมากเกินไป จึงเกิดอาการปวดคอขึ้นมาได้ หรือท่านั่งไขว่ห้าง ก็จะส่งเสริมให้กล้ามเนื้อหลังสองฝั่งทำงานไม่เท่ากัน หรือเกิดความไม่สมดุล จนทำให้แนวกระดูกสันหลังคดได้ ส่งผลต่อไหล่ไม่เท่ากัน สะบักปูด สะโพกยกได้ ซึ่งก็จะทำให้บุคลิกภาพของเราเสีย ใส่เสื้อผ้าก็อาจจะไม่สวย ทำให้ความมั่นใจของตัวเราลดลงได้นั่นเอง 

3. พฤติกรรมการใช้ชีวิต

ออฟฟิศซินโดรม bewell

พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สะพายกระเป๋าข้างเดียว ก็ทำให้กล้ามเนื้อบ่ารับหนักมากเกินไป และเกิดอาการเกร็งได้ ใส่รองเท้าส้นสูงประจำ ทำให้กล้ามเนื้อขาเกร็ง เกิดอาการปวดขาได้ การนอนหมอนสูงหรือต่ำเกินไป ก็อาจทำให้ปวดคอ ได้ ลักษณะการยืนไม่เหมาะสม เช่น ยืนหลังแอ่น อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ ซึ่งพฤติกรรมการใช้ชีวิตเหล่านี้ก็ทำให้กล้ามเนื้อทำงานหนัก และบวกกับการนั่งทำงานไม่ได้ถูกท่าก็ยิ่งเป็นปัจจัยกระตุ้นให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บซ้ำ ๆ ได้นั่นเอง

 4. สภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ไม่ซัพพอร์ต

ออฟฟิศซินโดรม bewell

สภาพแวดล้อมและอุปกรณ์ไม่ซัพพอร์ต เช่น เก้าอี้ไม่เหมาะสม เช่น เบาะรองนั่งแข็งไป พนักพิงไม่ซัพพอร์ตหลัง ที่วางแขนปรับไม่ได้ ปรับความสูงเก้าอี้ไม่ได้ เป็นต้น โต๊ะทำงานไม่ได้ระดับ ไม่สามารถสอดขาเข้าไปใต้โต๊ะได้ โต๊ะสูงเกินไป ห้องสว่าง หรือมืดเกินไป อากาศในห้องไม่ถ่ายเท  ข้างห้อง ข้างบ้านเสียงดังรบกวน ลักษณะที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระตุ้นต่อกล้ามเนื้อได้ทั้งนั้นเลย 

5. ความเครียด

โรคออฟฟิศซินโดรม bewell

ความเครียด จากการทำงาน ความรัก ครอบครัว การเงิน หรือสภาวะแวดล้อม ที่ทำให้เกิดความเครียด ซึ่งความเครียดที่เกิดขึ้นสามารถกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเกร็ง ส่งผลให้กล้ามเนื้อตึง ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อก็จะน้อยลง การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อก็ลดลง และเมื่อกล้ามเนื้อถูกคงค้างในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ ทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดไม่ดี เมื่อกล้ามเนื้อไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอก็ทำให้เกิดอาการปวดได้ หรือบางคนเครียดมาก ๆ ก็ส่งผลทำให้ปวดกล้ามเนื้อร้าวขึ้นศีรษะได้เลย

‘โรคออฟฟิศซินโดรม’ ไม่ใช่โรคอันตรายอย่างที่ใครคิด แต่ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้ไม่แก้ไข ก็อาจทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงได้ และทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นหลายอย่าง เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าทำกายภาพบำบัด ค่ายารักษาต่าง ๆ เป็นต้น หากเรารู้จักถึงสาเหตุของตัวโรคและสามารถปรับแก้ได้บ้าง ก็จะช่วยยืดอายุการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อให้เกิดขึ้นช้า เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ชีวิตและการทำงานให้ยาวนานมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้สุขภาพดีขึ้นได้อีกด้วย 

 

หากอยากรู้ว่าเจ้าออฟฟิศโดรมจะเป็นโรคอะไรได้บ้าง อ่านเพิ่มเติม >> ออฟฟิศซินโดรม โรคร้ายที่ได้จากการทำงาน

ตัวช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดจากออฟฟิศซินโดรม 

หากมองแล้วว่าเก้าอี้หรือโต๊ะที่บ้านของคุณไม่ตอบโจทย์เลย ปรับอะไรไม่ได้เยอะ พนักพิงไม่วัพพอร์ตหลัง ที่วางแขนปรับสูงต่ำไม่ได้ วางแล้วไม่ได้ระดับ เรื่องพวกนี้หากได้รับการแก้ไขแล้วก็จะช่วยเพิ่มคุณภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้นได้แน่นอน ทาง Bewell ก็เล็งเห็นถึงปัญหาสุขภาพของพนักงานออฟฟิศเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข จึงขอแนะนำ เก้าอี้เพื่อสุขภาพ และโต๊ะปรับระดับได้ ที่จะเป็นตัวช่วยที่ทำให้การทำงานของคุณดีขึ้นกว่าใครแน่นอน สนใจสินค้า ดูรายละเอียดได้ข้างล่างนี่เลย

Slide
ฟรี! ปรึกษาปัญหาด้านสุขภาพ
ปรับท่านั่งทำงานที่ถูกต้อง
ตามหลัก Ergonomics

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *